เงื่อนเชือก
ความสำคัญของเงื่อนเชือก
ในอดีตมนุษย์รู้จักการนำเงื่อนมาใช้ในการดำรงชีวิต โดยใช้เส้นใยที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเถาวัลย์ เยื่อเปลือกไม้ มาทำเป็นเชือกเพื่อผูกรัดหิน หรือวัสดุแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำไปใช้เป็นอาวุธในการล่าสัตว์ ดังที่เราเห็นในสารคดีต่างๆ
ต่อมาเมื่อมนุษย์ในยุคต่างๆเจริญมากขึ้น จึงเริ่มใช้เชือกที่ทำจากวัสดุดังกล่าวมาผูกรัดเป็นเงื่อนปม ใช้ในการมัดวัสดุต่างๆ เช่น มัดท่อนซุง ลำไม้ไผ่ เพื่อใช้ในการต่อเป็นพาหนะในการดำเนินชีวิต และล่าสัตว์หาอาหารทั้งทางบกและทางน้ำ โดยจะเห็นจากการที่มนุษย์เริ่มมีแพในการเดินทางทางน้ำ การปลูกสร้างบ้านในสมัยโบราณ แลอื่นๆอีกมาก
กิจกรรมลูกเสือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องการให้ผู้ร่วมกิจกรรมรู้จักใช้วัสดุ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ในการดำรงชีวิตเลียนแบบธรรมชาติเพื่อการดำรงความ เป็นอยู่อย่างอิสระโดยไม่พึ่งตนเองมากที่สุด ประกอบกับการเรียนรู้เรื่องเงื่อนเชือกเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ลูก เสือจำเป็นต้องเรียนรู้ เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมในการอยู่ค่ายพักแรม การสร้างฐานผจญภัย การตั้งค่ายพักแรม การใช้เงื่อนในการช่วยผู้เจ็บป่วย เป็นต้น
คุณสมบัติของเชือกและประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องเงื่อนเชือก
ต้นมะพร้าว เชือกที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมลูกเสือนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะที่เชือกที่สำคัญ ๆ ดังนี้ คือ
1. เชือกมนิลา เป็นเชือกที่มีถิ่นฐานมาจากประเทศฟิลิปปินส์ มีคุณสมบัติเหนียวและแข็งแรง เชือกมนิลานี้ทำมาจากต้นอะคาบา ซึ่งพบได้มากในประเทศฟิลิปปินส์ มีประโยชน์ในการใช้เป็นเชือกผูกเรือและใช้ร่วมกับรอกทำสลิง
2. เชือกป่าน ทำมาจาก ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ต้นเฮมพ์ มีสีเหลืองอ่อน มีความเหนียวในตัวมีความทนทานน้อย ผุกร่อนได้ง่าย ดังนั้นการนำเชือกชนิดนี้มาใช้ จึงจำเป็นต้องนำไปชุบในน้ำมันดินเสียก่อนเพื่อให้เกิดความทนทานในการใช้งาน ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกเชือกชนิดนี้ว่า “ เชือกน้ำมัน ” เชือกน้ำมันหรือเชือกป่านนี้ เป็นเชือกที่นำมาใช้ในงานลักษณะที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ทั้งนี้เพราะน้ำมันจะช่วยป้องกันการกัดผุกร่อนของน้ำได้เป็นอย่างดี
3. เชือกกาบมะพร้าว ทำมา จากกาบของเบา และสามารถลอยตัวในน้ำได้ดี เนื่องจากเชือกชนิดนี้ มีความฝืด และหยาบ ตลอดจนลอยตัวในน้ำได้ จึงนิยมนำมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมงเช่น การลากพ่วงเรือและการลากเรือ เป็นต้น
4. เชือกลวด เป็นเชือกที่ผลิตจากเส้นโลหะและ อโลหะผสมกัน การใช้เชือกชนิดนี้ต้องระมัดระวังการเกิดสนิมเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะโลหะที่นำมาใช้ในการถักทอนั้นมักเกิดเป็นสนิมได้โดยง่าย
เชือกลวด แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ซึ่งได้แก่
4.1 เชือกลวดชนิดอ่อน ชนิดนี้เป็นเชือกลวดที่ใช้เชือกชุบน้ำมันมาทำเป็นไส้ ก่อนทำเป็นเกลียวเชือก คุณสมบัติของเชือกชนิดนี้ สามารถนำมาขด หรือพับได้ง่าย และยังสามารถนำมาผูกได้อีกด้วย
4.2 เชือกลวดชนิดแข็ง ชนิดนี้เป็นเชือกลวดที่ใช้ลวดเส้นเล็กๆร้อยทำเป็นไส้ ชนิดนี้ใช้งานกับวัตถุประเภทหนักมากๆ ไม่สามารถนำมาขด หรือพับได้ จึงมักใช้ประจำที่ในการใช้งาน
การบำรุงดูแลรักษาเชือกลวดทั้ง 2 ชนิดนี้ ควรหมั่นใช้น้ำมันหรือจารบีชโลม ให้ทั่ว หลังเสร็จสิ้นการนำมาใช้งาน
5. เชือกไนล่อน เชือกชนิดนี้ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งเรียกตามภาษาในท้องตลาดว่า “ ไนล่อน ” ปัจจุบัน ลูกเสือนิยมใช้เชือกชนิดนี้มาก ทั้งนี้เพราะเชือกชนิดนี้มีคุณสมบัติ ที่เหนียว มีความทนทาน แต่มีจุดอ่อนที่ มีราคาแพง และยืดตัวมากกว่าเชือกชนิดอื่นๆ
เชือกชนิดต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเชือกที่นิยมใช้ในกิจกรรมของลูกเสือ ซึ่งแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติและประโยชน์แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และคุณสมบัติของเชือกชนิดนั้นๆ
การนำเชือกมาผูกเป็นเงื่อนปมมีประโยชน์อย่างมากมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดต่างๆของเงื่อนเชือก เช่น หากเป็นเงื่อนประมง จะมีประโยชน์ในกิจการที่เกี่ยวกับการประมง ซึ่งได้แก่ ใช้ในการต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกันในการทำให้เชือกที่สั้นให้ยาวขึ้น หรือใช้ต่อสายเอ็นตกปลา หรือใช้สำหรับผูกเพื่อเป็นที่ถือหิ้วภาชนะต่างๆเช่น คอขวด เป็นต้น หรือเงื่อนผูกรั้ง เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์ในการจัดทำกิจกรรมได้หลายๆอย่าง เช่น สามารถใช้เงื่อนชนิดนี้ใน การยึดเสาเต๊นท์ เสาธง หรือ สมอบก..
การเลือกใช้เชือกเพื่อกิจกรรมลูกเสือ
ในการเลือกใช้เชือกเพื่อทำกิจกรรมต่างๆในกระบวนการลูกเสือ ไม่ว่าจะเป็นการนำเชือกไปใช้ประโยชน์ในการประมง การใช้เชือกในการลากซุง การใช้เชือกในการทำฐานผจญภัย และการใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ มีหลักการในการคำนวณการใช้เชือกเพื่อกิจกรรมต่างๆ ดังนี้**ความยาวของเส้นรอบวงตัวเชือก (ยกกำลังสอง) = แรงรับน.น.วัตถุ (คิดเป็นตัน) X 18 , 9 , 6 หรือ 3)**
หมายเหตุ : ตัวเลข 18, 9 , 6 หรือ 3 เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้เชือกในการรับน้ำหนัก กล่าวคือ
ขนาดเส้นรอบวงของเชือกที่มีความปลอดภัยสูงสุด ใช้ ตัวเลข 18 ในการคูณในสูตร
ขนาดเส้นรอบวงของเชือกที่มีความปลอดภัยสูง ใช้ ตัวเลข 9 ในการคูณในสูตร
ขนาดเส้นรอบวงของเชือกที่รับน้ำหนักเต็มที่ ใช้ ตัวเลข 6 ในการคูณในสูตร
ขนาดเส้นรอบวงของเชือกที่มีอันตราย ใช้ ตัวเลข 3 ในการคูณในสูตร
ตัวอย่างที่ 1 หากเราต้องการสร้างฐานผจญภัยให้ มีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งรับน้ำหนักลูกเสือได้ 200 กิโลกรัม (0.2 ตัน) เราจะใช้เชือกที่มีขนาดเส้นรอบวงเท่าใด (ความปลอดภัยสูงสุดใช้ ตัวเลข 18 ในการคูณในสูตร)
สูตรในการคำนวณ
ความยาวของเส้นรอบวงตัวเชือก (ยกกำลังสอง) = แรงรับน.น.วัตถุ (คิดเป็นตัน) X 18
= 0.2 ตันX 9
ความยาวของเส้นรอบวงตัวเชือก (ยกกำลังสอง)= 1.8 ตัน
**เงื่อนต่างๆที่ควรเรียนรู้**
ตามหลักสูตรของการรับเครื่องหมายลูกเสือโลก เงื่อนเชือกที่ลูกเสือจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อใช้ในการร่วมกิจกรรมลูกเสือ นั้น มีอยู่ด้วยกัน 10 เงื่อนเชือก ได้แก่1. เงื่อนพิรอด ( Square Knot or Reef Knot )
2. เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend Knot )
3. เงื่อนผูกกระหวัดไม้ ( Two Half Hitch Knot )
4. เงื่อนบ่วงสายธนู ( Bowline Knot )
5. เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Clove Hitch Knot )
6. เงื่อนประมง ( Fisherman Knot )
7. เงื่อนผูกซุง ( Timber Hitch Knot )
8. เงื่อนผูกรั้ง ( Tarbuck Knot )
9. เงื่อนปมตาไก่ ( Stevedore’s Knot )
10. เงื่อนการผูกแน่น ( Lashing Knot )
10.1 เงื่อนผูกประกบ ( Sheer Lashing Knot )
10.2 เงื่อนผูกกากบาด (Square Lashing Knot )
10.3 เงื่อนผูกทะแยง (Diagonal Lashing Knot )
วิธีผูกเงือนต่างๆ และประโยชน์ของเงื่อน
เงื่อนพิรอด
เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะการต่อปลายเชือก 2 ข้างเข้าด้วยกัน ซึ่งเงื่อนนี้จะแน่นมากแต่ก็แก้ออกได้ง่ายประโยชน์
1. ใช้ต่อเชือกขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัตถุต่างๆ
3. ใช้ประโยชน์ในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้า
4. ผูกเชือกรองเท้า ผูกโบ
![]() |
รูปภาพประกอบการเรียนรู้ |
เงื่อนขัดสมาธิ
เงื่อนขัดสมาธิเป็นเงื่อนที่มีประโยชน์ในการต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน หรือขนาดเท่ากัน โดยใช้เส้นใหญ่ทำเป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด
ประโยชน์
1. ใช้ต่อเชือกขนาดต่างกัน หรือขนาดเดียวกันก็ได้2. ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน (เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
3. ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
4. ใช้ผูกเชือกกับสิ่งที่มีลักษณะเป็นขอหรือหูอยู่แล้ว เช่น ธงชาติ
5. ใช้ต่อเส้นด้าย เส้นไหมทอผ้า
![]() |
รูปภาพประกอบการเรียนรู้ |
เงื่อนบ่วงสายธนู
เงื่อนบ่วงสายธนู เป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อนเข้าไปรัดกับสิ่งที่ผูก ตัวบ่วงจะคงที่
ประโยชน์
1. ใช้ผูกสัตว์ไว้กับหลักหรือต้นไม้ เป็นเงื่อนที่ไม่รูดและไม่เลื่อนเข้าไปรัด กับหลักเพราะสามารถหมุนรอบได้
2. ใช้ผูกเรือกับหลัก เมื่อเวลาน้ำขึ้นหรือน้ำลงบ่วงจะเลื่อนขึ้นลงได้เอง
3. ใช้คล้องกันธนูเพื่อโก่งคันธนู
4. ใช้คล้องคนให้หย่อนตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแทนเงื่อนเก้าอี้
5. ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งหรือถังนอน
![]() |
รูปภาพประกอบการเรียนรู้ |
เงื่อนประมง
เงื่อนประมงเป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกัน ซึ่งเป็นเงื่อนที่รู้จักกันทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า เงื่อนหัวล้านชนกัน
ประโยชน์
1. ใช้ต่อเชือก 2 เส้นที่มีขนาดเดียวกัน2. ใช้ต่อเชือกเส้นด้ายเล็กๆเช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
3. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว(คอขวดที่มีขอบขวด)
4. ใช้ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดใหญ่ที่ลากจูง
5. ใช้ต่อสายไฟฟ้า
![]() |
รูปภาพประกอบการเรียนรู้ |
เงื่อนปมตาไก่
เงื่อนปมตาไก่เป็นเงื่อนที่ขมวดปลายเชือกให้เป็นปม แต่ถ้าต้องการให้ปมเชือกมีขนาด
ใหญ่ก็ขมวดหลายครั้ง
ประโยชน์
1. ใช้ผูกร้อยหูเต็นท์2. ทำปมบันไดเชือก
3. สามารถผูกเป็นเงื่อนปากขวดได้
![]() |
รูปภาพประกอบการเรียนรู้ |
เงื่อนผูกซุง
เงื่อนผูกซุงเป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับผูกสิ่งของต่างๆ ให้ยึดติดกันแน่น ซึ่งเป็นเงื่อนที่มี
ลักษณะพิเศษ คือ ผูกง่าย แก้ง่าย แต่เป็นเงื่อนที่ยิ่งดึงยิ่งแน่น ยิ่งดึงแรงมากเท่าไรก็จะยิ่ง
แน่นมากขึ้นเท่านั้น
ประโยชน์
1. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
2. ใช้ผูกทแยง
3. ใช้ผูกสัตว์ เรือ แพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
4. เป็นเงื่อนที่ผูกง่าย แก้ยาก
![]() |
รูปภาพประกอบการเรียนรู้ |
เงื่อนตะกรูดเบ็ด
เป็นเงื่อนที่ใช้งานต่างๆ มากมาย เช่น ผูกสิ่งของต่างๆ ผูกเหล็ก ผูกรั้ว ผูกตอม่อในการสร้างสะพาน ผูกแขวนรอก ผูกสมอเรือ ผูกบันได ผูกเบ็ด
ประโยชน์
1. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือแพ
2. ใช้ผูกบันใดเชือก บันใดลิง
3. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท
![]() |
รูปภาพประกอบการเรียนรู้ |
เเงื่อนผูกร่ม
ประโยชน์
๑. ใช้ผูกร่นเชือกตรงส่วนที่ชำรุดเล็กน้อย เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม
๒. เป็นการทบเชือกให้เกิดกำลังลากจูง๓. การร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้น ตามต้องการ
เงื่อนเก้าอี้
ประโยชน์
เป็นเงื่อนกู้ภัยใช้ช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง ไม่สามารถลงทางบันไดได้ หรือใช้ช่วยคนขึ้นจากที่ต่ำ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่วงสายธนู ๒ ชั้นยึดกันแน่น
โดยมีสิ่งของอยู่ตรงกลางภายในบ่วงเพื่อดึงลากสิ่งของไป ระหว่างจุด ๒ จุด